|
 |
|
 |
|
 |
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวงอยู่ห่าง
จากอำเภอเมืองนครสวรรค์ระยะทางประมาณ 20
กิโลเมตร
มีเนื้อที่ประมาณ 12,956 ไร่ หรือ 20.72
ตาราง กิโลเมตร
ภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง
เป็นแอ่ง และเป็นที่ราบ
สูง ๆ ต่ำ ๆ ไม่เสมอกัน |
|
|
|
|
|
 |
ประวัติตำบลบางพระหลวง |
|
|
ประวัติความเป็นมาของตำบลบางพระหลวง "บ้านพะหลวง" มาจาก พระราชหัตถเลขา เรื่องเสด็จประพาสลำน้ำมะขามเฒ่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ จดหมายฉบับที่ ๑ หน้าที่ว่าการมณฑลนครสวรรค์ วันที่ ๑๕ ตุลาคม รัตนโกสินทรศก ๑๒๗ “บ้านพะหลวง มีบ้านเรือนขึ้นมากหน่อย อยู่แพกันเป็นพื้น ได้แวะที่วัดพะหลวง วัดนั้นก็อยู่บนแพ มีแพโบสถ์หลัง ๑ แพการเปรียญหลัง ๑ แพกุฏิ ๓ หลัง ที่นั้นน้ำลึกกว่าทุกแห่ง เดี๋ยวนี้ถึง ๑๑ ศอกเป็นที่ประชุมปลาอาศัยมาก มีปลาเทโพตัวใหญ่ๆ ในฤดูนี้” จากการอธิบายความหมาย ของการเสด็จประพาสต้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ การเสด็จประพาสต้นครั้งที่ ๓ จะเห็นได้ว่าตำบลบางพระหลวง เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแพ ใช้การสัญจรและคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก ปัจจุบันใช้ชื่อตำบลว่า "บางพระหลวง" |
|
|
|

 |
|
เว็บไซต์ใน
เว็บไซต์ใน
เครือข่าย อปท.
เครือข่าย อปท.
จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์
|
|
|
|
 |
ประวัติองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง |
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบล เป็นหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่เกิดขึ้นตามนโยบายการกระจายอำนาจสู่หน่วยการปกครองขั้นพื้นฐานของรัฐบาล โดยพระราชบัญญัติสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 (ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 และมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา) กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล และราชการบริหารส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
สำหรับองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวงได้ประกาศจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2539 เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113 ตอนพิเศษ 42ง ลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2539 มีเนื้อที่ประมาณ 20.7296 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,956 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 2.77 ของอำเภอเมืองนครสวรรค์ มีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง คนแรกชื่อว่า นายเทพพร ราชกิจ (ประธานกรรมการบริหาร) ใช้สภาตำบลเป็นที่ทำการฯ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านน้ำกลัด ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (สถานีอนามัย) ริมน้ำคลองบางพระหลวง (ฝั่งตะวันออก) โดยใช้การสัญจรทางน้ำ เนื่องจากการคมนาคมยังไม่มีถนนสายหลัก ประมาณปี พ.ศ. 2545 จึงได้มีถนนสาย นว. และมีสะพานข้ามคลองบางพระหลวง บริเวณหน้าวัดบาง พระหลวง (วัดท่าดินแดง) ต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2547 ได้สร้างที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง หมู่ที่ 2 บ้านท่าดินแดง มีการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง (ครั้งแรก) เมื่อ 23 มิถุนายน 2544 มีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 12 คน ปัจจุบันหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลบางพระหลวง มีแหล่งท่องเที่ยวแพบางพระหลวง ร้านค้าตลาดประชารัฐ ศูนย์ OTOP และโบสถ์ลอยน้ำวัดบางพระหลวง |
|
|
     |
|
|
ประชากรทั้งสิ้น 2,263 คน ประกอบด้วย |
|
|
 |
ชาย 1,114 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.23 |
|
|
 |
หญิง 1,149 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.77 |
|
|
 |
จำนวนครัวเรือน |
723 ครัวเรือน |
|
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 109.2 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
     |
|
|
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ต.บางเคียน อ.ชุมแสง |
|
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ต.เกรียงไกร
อ.เมืองนครสวรรค์ |
|
|
|
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ต.โคกหม้อ อ.ชุมแสง |
|
|
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ต.บ้านมะเกลือ อ.เมืองนครสวรรค์ |
|
|
|
|
|
|
 |
|
|
 |
หมู่ที่ |
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
จำนวนประชากร(คน) |
ชาย |
หญิง |
รวม |
|
 |
|
1 |
|
บ้านท่าศาลา |
84 |
75 |
91 |
166 |
|
 |
2 |
|
บ้านท่าดินแดง |
82 |
128 |
132 |
260 |
 |
|
3 |
|
บ้านหัวถนน |
149 |
255 |
227 |
482 |
|
 |
4 |
|
บ้านน้ำกลัด |
145 |
217 |
240 |
457 |
 |
|
5 |
|
บ้านท่าล้อ |
179 |
303 |
313 |
616 |
|
 |
6 |
|
บ้านเสือคะเม็ง |
84 |
136 |
146 |
282 |
 |
|
|
|
รวม |
723 |
1,114 |
1,149 |
2,263 |
|
|
|
|
|
|